วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนร่วมมือระหว่างกัน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)



     ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
     ๑. การทูต
     ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อปี ๒๒๒๘ ต่อมา ราชทูตสยาม (โกษ...  อ่านเพิ่มเติม


     ไทย – เยอรมนี
          ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทร...  อ่านเพิ่มเติม

     ไทย – สวิส
     ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาพันธรัฐสวิสได้พัฒนาอย่างราบรื่นและใกล้ชิดเป็นพิเศษมาตลอด สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพ...  อ่านเพิ่มเติม

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)



     การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     
     ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิ...  อ่านเพิ่มเติม


องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 : สิทธิมนุษยชน)



     องค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่มีต่อประเทศไทย
1.  คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(The United Nations Human Rights Council)
     ได้ก่อตั้งขึ้นแทนที่คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ(Un  commission  for human  rights) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด  47  ประเทศ  วัตถุประส...  อ่านเพิ่มเติม

สิทธิมนุษยชน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 : สิทธิมนุษยชน)



     สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจัก...  อ่านเพิ่มเติม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเเละประเทศ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 : กฎหมาย)



     กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย 
     กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

     กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
      บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมายสภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แ...  อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองเเละครอบครัว (หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 : กฎหมาย)



     วิธีการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
1. วันที่มีอายุครอบ 15 ปีบริบูรณ์
2. วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ
3. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
4. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานที่ต้องนำไปในการขอมีบัตรป...  อ่านเพิ่มเติม

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (หน่วยการเรียรู้ที่ 5 : การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)



     กระบวนการตรวจสอบและ การควบคุมการใช้อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศและการบริการ สาธารณะตามหลักของ  กฎหมาย มหาชน มีหลักการสำคัญ 2 ประการคื...  อ่านเพิ่มเติม

รัฐ (หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 : การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)



     รัฐ คือองค์กรทางการเมือง ที่ประชาชนตั้งขึ้น โดยประชาชนเหล่านั้นครอบครองดินแดนและรวมกันอยู่อย่างอิสระในฐานะเป็นเจ้าของภายใต้อำนาจปกครองอันมีระเบียบร่วมกันประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญคือ ดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน ประชากร รัฐบาลปกครอง และอำนาจอ...  อ่านเพิ่มเติม

คุณลักษณะของพลเมืองดี (หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 : พลเมืองดี)



     คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้...  อ่านเพิ่มเติม

พลเมืองดี (หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 : พลเมืองดี)


     พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลอื่น

     ความสำคัญของพลเมืองดี
      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย และการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน

     วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. เพื่อให้รู้จักปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
2. เพื่อปลูกฝังทักษะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
3. เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
4. เพื่อปลูกฝังให้มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสังคม




การเลือกรับวัฒนธรรมสากล (หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : วัฒนธรรม)


  

      1) เลือกรับวัฒนธรรมสากลที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน 
      วัฒนธรรมสากล เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ตลอดจนระบบระเบียบการค้าขายระหว่างประเทศ จึงควรเลือกรับเฉพาะวัฒนธรรมที่ดี เหมาะกับสังคมไทยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตขอแงคนไทยในยุคปัจจุบัน
      2) พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียควบคู่กันไป 
      เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากวัฒนธรรมภายนอกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย  ซึ่งถ้าหากเราศึกษาให้ดีใช้ให้เป็นประโยชน์ก็จะก่อให้เกิดความสะดวกสบาย  และตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ได้ดังใจ แต่ผลเสียก็มีอยู่มาก เช่น ทำให้มนุษย์เกิดความฟุ้งเฟ้อ ให้ความสำคัญทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ 
      3) มีการร่วมมือ ค้นคว้า เผยแพร่ รวมถึงการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย 
      โดยสืบค้นจากคำบอกกล่าวของผู้เฒ่า ผู้อาวุโส และผู้รู้ จากนิยาย นิทานชาวบ้าน คัมภีย์ทางศาสนา วรรณคดีประเภทต่างๆ คำคม สุภาษิต คำพังเพย รวมถึงการสังเกตและเปรียบเทียบการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม 
      4) มีการพัฒนาและผสมผสานวัฒนธรรมไทยให้เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน 
      ภูมิปัญญาไทยหลายเรื่องได้กลายเป็นภูมิปัญญาสากล เช่น อาหารไทยได้รับความนิยมทั่วโลก มีการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม การผสมผสานอย่างลงตัวของภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาตะวันตก ได้กลายเป็นมรดกสำคัญของวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทย


วัฒนธรรม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : วัฒนธรรม)


    


     วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรี...  อ่านเพิ่มติม


เเนวทางการเเก้ไขปัญหาเเละพัฒนาสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม)

    

     เเนวทางการเเก้ไขปัญหาทางสังคม
1. ปัญหาจากการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางสังคม
     ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันผลักดันให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดี ห่างไกลอบายมุขและยาเสพติด 
2 . ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม เเละเศรษฐกิจ
     นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยจะต้องมีความรู้และมีคุณธรรมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
 3 . ปัญหาจากการจัดระเบียบสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
      การกำหนดให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนสุภาพและเรียบร้อย ถือได้ว่าเป็นการจัดระเบียบนักเรียน นักศึกษา กล่าวคือ จะต้องไม่ประพฤติตนฝืนกฎกระทรวงศึกษาธิการ

     เเนวทางการพัฒนาสังคม
1. ความหมายของการพัฒนาสังคม              
    คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมตามแผนของสังคม กล่าวคือ การพัฒนาต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกำหนด
 2. การพัฒนาสังคมของประเทศไทย
     1.)  วิวัฒนาการการพัฒนาสังคมของประเทศไทย
       การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมตามแผนพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาสังคม” นั้นประเทศไทยมีวิวัฒนาการของการพัฒนาสังคม นับตั้งแต่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้จัดตั้ง สภาพัฒน์ ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจเเห่งชาติ รวมทั้งได้จัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจเเห่งชาติ เเละได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้
     2 .)  การพัฒนาสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติของไทย
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509)      ใช้เเนวคิดที่ว่า น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514)           ใช้แนวคิดว่า กระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ชนบท
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519)       ใช้แนวคิดว่า จากเศรษฐกิจสู่การพัฒนาสังคม
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524)       ใช้แนวคิดว่า กระจายความเจริญสู่ชนบท
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2525-2529)      ใช้แนวคิดว่า ยึดพื้นที่ในการพัฒนาทั้งรับและรุก
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534)        ใช้แนวคิดว่า ผลักดันความเจริญสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)       ใช้แนวคิดว่า เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)       ใช้แนวคิดว่า ก้าวสู่กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศ
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)     ใช้แนวคิดว่า อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำทางการพัฒนา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)    ใช้แนวคิดว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2558)          ใช้แนวคิดว่า ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม)

    

     สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา 
     
    ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง การที่ระบบสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว 

     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
 ปัจจัยภายใน ได้เเก่
1.) ปัจจัยทางธรรมชาติ  เกิดจากความผิดปกติของธรรมชาติ 
 2.) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบดั้งเดิมในยุคสังคมเกษตรกรรมไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมและแบบเมือง ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม
 3.) ปัจจัยทางสังคม เกิดจากการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากร ความขัดแย้ง การแข่งขัน
 4.) ปัจจัยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศาสนา ความเชื่อ อุดมการณ์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีมีการค้นพบและมีการประดิษฐ์จนเกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นในสังคม
  ปัจจัยภายนอก ได้เเก่
1.) สถานการณ์ปกติ โดยย่อมมีการติดต่อระหว่างสังคมหลากหลายประเภท เช่น การเผยแผ่ศาสนา การศึกษาอบรม การค้าขาย
 2.) สถานการณ์ไม่ปกติ โดยเกิดจากเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างกัน

      รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
1. การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่คนไม่มีส่วนหรือมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงน้อย
2.การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีคนจงใจทำให้เกิดขึ้น โดยมีการกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทางที่ต้องการ และกำหนดเวลาเป็นระยะสั้น ระยะยาว

     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย
 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร คนไทยในอดีตมีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันเหมือนครอบครัวใหญ่ซึ่งเป็นระบบครอบครัวและเครือญาติ จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการใช้รูปแบบการปกครองในหลายๆ แบบ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
 2.การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอาจพิจารณาได้จากระบบครอบครัวและเครือญาติในประเด็นการใช้ถ้อยคำเรียกญาติพี่น้องตามประเภทและระดับอายุต่างๆ ยังคงเหมือนกับคนไทยในอดีต 
3. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสังคมไทยในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

ลักษณะสังคมไทย (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สังคม)

     

     ลักษณะสังคมไทย 
1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ
2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ 
4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง 
5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก 

     สังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย 
สังคมของเมืองไทย
         สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ 

    ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย 
1. พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม 
2. มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน 
3. มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย 
4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมากจึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ
5. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของกลุ่ม
6. มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง ห
สังคมชนบทของไทย
7.มีการรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนเล็ก ๆ เป็นการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ตำบล 

       ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทไทย
ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทของไทย
1. มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เพราะสังคมชนบทไทยมีความคล้ายคลึงกันของแบบแผนสังคมและ แบบแผน ของ วัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่มีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก 
2. มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไม่แตกต่างกันมาก ชาวชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม 
3. พึ่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นใหญ่ ชีวิตของชาวชนบทผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ ความทุกข์ มีผลจากภัยธรรมชาติ คือความแห้งแล้งน้ำท่วม และความหนาวเย็น 
4. การรวมกลุ่มของคนชนบทอยู่ในวงจำกัด และมีลักษณะไม่เป็นทางการ สังคมชนบทจะรู้จักหน้าค่าตากันดี มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวในลักษณะกลุ่มปฐมภูมิมากกว่าสัมพันธ์กันในลักษณะกลุ่มทุติยภูมิ
5. มีการแข่งขันกันน้อย ผู้คนในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด อาชีพคล้ายคลึงกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ระบบการแข่งขันจึงมีน้อย 

โครงสร้างทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สังคม)

         


     โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
    
    โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)
     
     ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม 
2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ 
4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้

     สถาบันสังคม หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมเพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่าง ๆ และเพื่อการคงอยู่ของสังคม

     ลักษณะสำคัญของสถาบัน
1) สถาบันสังคมเป็นนามธรรม 
2) สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งได้แก่ วิถีชาวบ้าน จารีต และกฎหมาย
3) สถาบันสังคมเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม
4) สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม 

     องค์ประกอบของสถาบันของสังคม
1) กลุ่มสังคม สถาบันสังคมประกอบไปด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้การกระทำระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยประกอบด้วยสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคม และบทบาทหน้าที่ 
2) หน้าที่ของสถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคมในด้านต่างๆ
3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น
3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น

     สถาบันสังคมที่สำคัญแยกได้ 7 สถาบัน ดังนี้
   1. สถาบันครอบครัว
     ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. หน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม 
2. หน้าที่เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้มีชีวิตรอด 
3. หน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ 
4. หน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การสนองความต้องการทางจิตใจ 

     2. สถาบันการศึกษา
     สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
1. ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกในสังคม
2. สร้างบุคลิกภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สามารถปรับตนในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
3. การกำหนดสถานภาพทางสังคม และชนชั้นทางสังคมสถานภาพจากสถาบันการศึกษา 
4. หน้าที่ในการผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม
5. หน้าที่ในการสร้างกลุ่มเพื่อนเเพื่อสนองความต้องการทางจิตใจของสมาชิกในสังคม

     3. สถาบันศาสนา 
      สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคม
หน้าที่ของสถาบันศาสนา1. สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม
2. สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม
3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
4. สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ
     
     4. สถาบันเศรษฐกิจ 
     สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค 
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1. ผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
 2. การกระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึง
3. การกระจายบริการต่าง ๆ ไปสู่สมาชิกในสังคม
4. การกำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม 
5. ก่อให้เกิดหน้าที่สำคัญ คือ เป็นพื้นฐานอำนาจทางการเมือง
    
      5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง 
     เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม 
หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม 
2. วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม 
3. หน้าที่ในการบริหารองค์การของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
4. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสังคมและจากภายนอกสังคม

     6. สถาบันนันทนาการ 
เป็นสถาบันที่เกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวัน เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
หน้าที่ของสถาบันนันทนาการ
1. ช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น
2. เสริมสร้างความสามัคคี
3. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยแก่สมาชิก
4. สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. ฝึกทักษะความชำนาญในด้านต่าง ๆ
 

      7. สถาบันสื่อสารมวลชน 
เป็นสถาบันที่ให้ความรู้ ความคิด ข่าวสาร ข้อมูล แก่ประชาชน

หน้าที่ของสถาบันสื่อสารมวลชน
1. ให้ความรู้ และความบันเทิงแก่สมาชิก
2. ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็น
3. เป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมและปลูกฝังค่านิยมต่าง ๆ
4. เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างสมาชิกของสังคม