วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : สังคม)

         


     โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
    
    โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)
     
     ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม 
2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ 
4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้

     สถาบันสังคม หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมเพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่าง ๆ และเพื่อการคงอยู่ของสังคม

     ลักษณะสำคัญของสถาบัน
1) สถาบันสังคมเป็นนามธรรม 
2) สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งได้แก่ วิถีชาวบ้าน จารีต และกฎหมาย
3) สถาบันสังคมเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม
4) สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม 

     องค์ประกอบของสถาบันของสังคม
1) กลุ่มสังคม สถาบันสังคมประกอบไปด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้การกระทำระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยประกอบด้วยสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคม และบทบาทหน้าที่ 
2) หน้าที่ของสถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคมในด้านต่างๆ
3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น
3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น

     สถาบันสังคมที่สำคัญแยกได้ 7 สถาบัน ดังนี้
   1. สถาบันครอบครัว
     ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. หน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม 
2. หน้าที่เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้มีชีวิตรอด 
3. หน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ 
4. หน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การสนองความต้องการทางจิตใจ 

     2. สถาบันการศึกษา
     สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
1. ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกในสังคม
2. สร้างบุคลิกภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สามารถปรับตนในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
3. การกำหนดสถานภาพทางสังคม และชนชั้นทางสังคมสถานภาพจากสถาบันการศึกษา 
4. หน้าที่ในการผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม
5. หน้าที่ในการสร้างกลุ่มเพื่อนเเพื่อสนองความต้องการทางจิตใจของสมาชิกในสังคม

     3. สถาบันศาสนา 
      สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคม
หน้าที่ของสถาบันศาสนา1. สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม
2. สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม
3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
4. สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ
     
     4. สถาบันเศรษฐกิจ 
     สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค 
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1. ผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
 2. การกระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึง
3. การกระจายบริการต่าง ๆ ไปสู่สมาชิกในสังคม
4. การกำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม 
5. ก่อให้เกิดหน้าที่สำคัญ คือ เป็นพื้นฐานอำนาจทางการเมือง
    
      5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง 
     เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม 
หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม 
2. วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม 
3. หน้าที่ในการบริหารองค์การของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
4. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสังคมและจากภายนอกสังคม

     6. สถาบันนันทนาการ 
เป็นสถาบันที่เกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวัน เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
หน้าที่ของสถาบันนันทนาการ
1. ช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น
2. เสริมสร้างความสามัคคี
3. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยแก่สมาชิก
4. สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. ฝึกทักษะความชำนาญในด้านต่าง ๆ
 

      7. สถาบันสื่อสารมวลชน 
เป็นสถาบันที่ให้ความรู้ ความคิด ข่าวสาร ข้อมูล แก่ประชาชน

หน้าที่ของสถาบันสื่อสารมวลชน
1. ให้ความรู้ และความบันเทิงแก่สมาชิก
2. ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็น
3. เป็นแหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรมและปลูกฝังค่านิยมต่าง ๆ
4. เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างสมาชิกของสังคม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น