เเนวทางการเเก้ไขปัญหาทางสังคม
1. ปัญหาจากการเปลี่ยนเเปลงโครงสร้างทางสังคม
ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันผลักดันให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา
และสถาบันการศึกษาร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดี
ห่างไกลอบายมุขและยาเสพติด
2 . ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม
เเละเศรษฐกิจ
นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
โดยจะต้องมีความรู้และมีคุณธรรมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3 . ปัญหาจากการจัดระเบียบสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ
การกำหนดให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนสุภาพและเรียบร้อย
ถือได้ว่าเป็นการจัดระเบียบนักเรียน นักศึกษา กล่าวคือ
จะต้องไม่ประพฤติตนฝืนกฎกระทรวงศึกษาธิการ
เเนวทางการพัฒนาสังคม
1. ความหมายของการพัฒนาสังคม
คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมตามแผนของสังคม กล่าวคือ
การพัฒนาต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกำหนด
2. การพัฒนาสังคมของประเทศไทย
1.) วิวัฒนาการการพัฒนาสังคมของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมตามแผนพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาสังคม” นั้นประเทศไทยมีวิวัฒนาการของการพัฒนาสังคม
นับตั้งแต่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้จัดตั้ง สภาพัฒน์ ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจเเห่งชาติ รวมทั้งได้จัดทำ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจเเห่งชาติ เเละได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้
2 .) การพัฒนาสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติของไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509)
ใช้เเนวคิดที่ว่า
น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514)
ใช้แนวคิดว่า
กระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ชนบท
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519)
ใช้แนวคิดว่า
จากเศรษฐกิจสู่การพัฒนาสังคม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524)
ใช้แนวคิดว่า
กระจายความเจริญสู่ชนบท
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ( พ.ศ.2525-2529) ใช้แนวคิดว่า ยึดพื้นที่ในการพัฒนาทั้งรับและรุก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534)
ใช้แนวคิดว่า
ผลักดันความเจริญสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)
ใช้แนวคิดว่า
เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)
ใช้แนวคิดว่า
ก้าวสู่กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ใช้แนวคิดว่า
อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำทางการพัฒนา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ใช้แนวคิดว่า
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2558)
ใช้แนวคิดว่า ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม
และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น