วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 : การเปลี่ยนเเปลงเเละการพัฒนาทางสังคม)

    

     สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา 
     
    ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) หมายถึง การที่ระบบสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว 

     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
 ปัจจัยภายใน ได้เเก่
1.) ปัจจัยทางธรรมชาติ  เกิดจากความผิดปกติของธรรมชาติ 
 2.) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบดั้งเดิมในยุคสังคมเกษตรกรรมไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมและแบบเมือง ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม
 3.) ปัจจัยทางสังคม เกิดจากการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากร ความขัดแย้ง การแข่งขัน
 4.) ปัจจัยทางวัฒนธรรม ได้แก่ ศาสนา ความเชื่อ อุดมการณ์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีมีการค้นพบและมีการประดิษฐ์จนเกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นในสังคม
  ปัจจัยภายนอก ได้เเก่
1.) สถานการณ์ปกติ โดยย่อมมีการติดต่อระหว่างสังคมหลากหลายประเภท เช่น การเผยแผ่ศาสนา การศึกษาอบรม การค้าขาย
 2.) สถานการณ์ไม่ปกติ โดยเกิดจากเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างกัน

      รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
1. การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่คนไม่มีส่วนหรือมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงน้อย
2.การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีคนจงใจทำให้เกิดขึ้น โดยมีการกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทางที่ต้องการ และกำหนดเวลาเป็นระยะสั้น ระยะยาว

     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย
 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร คนไทยในอดีตมีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันเหมือนครอบครัวใหญ่ซึ่งเป็นระบบครอบครัวและเครือญาติ จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการใช้รูปแบบการปกครองในหลายๆ แบบ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
 2.การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอาจพิจารณาได้จากระบบครอบครัวและเครือญาติในประเด็นการใช้ถ้อยคำเรียกญาติพี่น้องตามประเภทและระดับอายุต่างๆ ยังคงเหมือนกับคนไทยในอดีต 
3. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสังคมไทยในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น